ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  เสด็จพระราชสมภพ  เมื่อวันเสาร์ที่      มกราคม   พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี  ทำให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจาก
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๖ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษทรงได้ศึกษาวิชาการทหารบก  ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชา ประวัติศาสตร์และกฎหมาย   ที่วิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด  การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร  เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๓  อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช  ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่  ๒๘พฤศจิกายน  ถึง  วันที่   ๑๐  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔  โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย  กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา 
 พระวรราชเทวี ซึ่งประสูติเมื่อวันที่   ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๖๘   ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อวันที่   ๒๖  พฤศจิกายน   พ.ศ.  ๒๔๖๘   เวลา    นาฬิกา ๔๕  นาที  พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖  เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้  ๑๕  พรรษา
ด้านการศึกษา
ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๕๙   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
ด้านการเศรษฐกิจ 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช  ๒๔๕๖  ขึ้น  เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น


ด้านการคมนาคม
ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่  สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร

ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย 
ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน  ละคร  จึงได้ทรงตั้ง กรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย   และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวง    ไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้  ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม  สถาปัตยกรรมไทย

ด้านการต่างประเทศ 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน  ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี  บัลกาเรีย และตุรกี      ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง     โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร  ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  และรัสเซียเป็นผู้นำ  เมื่อวันที่  ๒๒  กรกฏาคม  พ.ศ.  ๒๔๖๐  พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ     ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย   ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ  ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ  ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และ วชิรพยาบาล  และได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภา  เมื่อวันที่    ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๖๕  และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ  เมื่อ วันที่  ๑๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๕๗

ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ 
ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่    พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔  และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน



ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย 
ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม  ทรงจัดให้เมืองมัง  มีระบอบการปกครองของตนเอง  ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต  ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท

ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ 
ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ  พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท  ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์  เทศนาปลุกใจเสือป่า  นิทาน  มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส  ซึ่งเต็มไปด้วย   ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง  คือ     หัวใจนักรบ ด้านละครพูด     มัทนะพาธาด้านคำฉันท์   และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง   นักประพันธ์  กวี  และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น